ผลลัพธ์การเรียนรู้หลังจากการดำเนินการตามประเด็นท้าทาย

ตารางที่ 1 ข้อมูลพื้นฐานของคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ 

           จากตารางที่ 1 แสดงค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ก่อนเรียน และหลังเรียนพบว่า ค่าเฉลี่ยคะแนนหลังเรียนคือ 9.01 คะแนน ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 1.108 และค่าเฉลี่ยคะแนนก่อนเรียนคือ 3.43 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 1.151


ตารางที่ 2 ผลการเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ก่อนและหลังได้รับการจัดการเรียนรู้

          จากตารางที่ 2 ผลการเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ก่อนและหลังได้รับการจัดการเรียนรู้การสอนแนะให้รู้คิดพบว่า ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ของนักเรียนหลังได้รับการจัดการเรียนรู้สูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ .05 

(t=25.591 ,  df=78 , sig = .000)

ตารางที่ 3 ผลการเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์หลังได้รับการจัดการเรียนรู้แนะให้รู้คิด กับเกณฑ์ร้อยละ 70

       จากตารางที่ 3 พบว่า คะแนนเฉลี่ยผลสัมฤทธิ์หลังเรียนสูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 70 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

(t=9.894, df = 78 , sig = .000)

ตารางที่ 4 แสดงผลการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และคะแนนสอบย่อยท้ายคาบ

       จากตารางที่ 4 พบว่า จากการหาความสัมพันธ์โดยใช้ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพียร์สัน พบว่า คะแนนหลังเรียนมีความสัมพันธ์กับคะแนนสอบย่อยท้ายคาบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (Pearson Correlation = .359, df=79 , sig= .001) 

เชิงปริมาณ 

นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5/2 และนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5/4 จำนวน 79 คน ได้รับการพัฒนาทักษะการแก้ปัญหา เรื่อง การหาค่าฟังก์ชันตรีโกณมิติ รายวิชาคณิตศาสตร์ ค30203 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2567 โดยนักเรียน มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนที่ผ่านเกณฑ์ร้อยละ 70 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ

เชิงคุณภาพ 

นักเรียนได้รับการแก้ไขปัญหาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง การหาค่าฟังก์ชันตรีโกณมิติ

ประเด็นท้าทาย_ผลลัพธ์การเรียนรู้.pdf

ตัวภาพการเก็บคะแนนการ Quiz ย่อย ต้นคาบ/ท้ายคาบ ในแต่ละครั้ง 

ตัวอย่างข้อสอบการ Quiz ย่อยท้ายคาบ